บริการเขตกรุงเทพและปริมณฑล 
ติดต่อสอบถาม 0819177884 หรือไลน์ @scair 

5 สิ่งที่ควรรู้สำหรับอ่าน แค็ตตาล็อกแอร์

หมวดหมู่ : 
5 สิ่งต้องรู้ อ่านแค็ตตาล็อกแอร์

สวัสดีครับ วันนี้สยามเจริญแอร์ขอพาท่านผู้อ่านทุกท่านมารู้จักกับ 5 ค่า หรือ 5 คุณสมบัติที่ท่านควรทราบสำหรับการอ่านแค็ตตาล็อกแอร์กันนะครับ

.

วิธีการอ่านแค็ตตาล็อกแอร์นั้นถ้าเป็นฉบับเต็มจะมีข้อมูลเยอะมากเลยครับ เพราะฉนั้นเราถึงคัดมาเฉพาะ 5 สิ่ง ดังนั้นถ้าท่านเป็นช่างแอร์ โปรดรออ่านบทความใหม่ของเราได้ในอนาคตนะครับ

ซึ่งถ้าท่านไม่สะดวกอ่านบทความ ในบทความนี้เรามีมาเป็นคลิป YouTube ความยาวประมาณ 10 นาที ด้านล่างของหน้า สามารถเลื่อนลงไปดูได้เลยครับ

1. รหัสประจำรุ่นและขนาด

เพื่อการสื่อสารอ้างอิงที่ถูกต้องระหว่างท่านกับร้านแอร์

ก่อนอื่นเลยหากท่านยังไม่รู้จักสยามเจริญแอร์ เราคือผู้จำหน่ายและให้บริการด้านแอร์แบบครบวงจร พูดง่าย ๆ เราก็คือร้านแอร์นั่นแหละครับซึ่งเราได้ทำการรวบรวมข้อมูลแค็ตตาล็อกแอร์ของรุ่นต่าง ๆ ไว้ที่หน้า แอร์พร้อมติดตั้ง ท่านสามารถเข้าไปเลือกแอร์ตามรุ่น/ยี่ห้อที่ท่านสนใจได้เลย

.

สมมุติว่าท่านสนใจแอร์  Carrier ติดผนัง รุ่น X-INVERTER PLUS ตาม Link นี้ https://scair.co.th/product-model/carrier-wall-type-x-inverter-plus/ ท่านสามารถเลื่อนลงมาเพื่อกดดูแคตตาล็อกแอร์ได้เลย เราได้ทำการเชื่อมไปยังแคตตาล็อกของผู้ผลิตไว้ให้เรียบร้อยแล้วครับ

ปุ่มดูแคตตาล็อกแอร์รุ่นนี้

เมื่อท่านเข้ามาในแคตตาล็อกแอร์รุ่นที่ท่านสนใจแล้ว เราขอข้ามไปยังหน้าที่เป็นตารางนะครับ

รหัสรุ่นแอร์

โดยรหัสรุ่นแอร์ที่ท่านเห็น ในที่นี้เช่น 42TVAB010-W จะเป็นรหัสประจำรุ่น X-Inverter Plus นะครับ ซึ่งส่วนมาก แอร์ทุกยี่ห้อ ทุกรุ่น มักจะมีการใช้ชื่อที่จดจำง่ายในการทำการตลาด เช่นคำว่า X-Inverter และจะใช้ตัวเลข Model เช่น 42TVAB010-W เป็นเลขอ้างอิง

.

เลขรหัสรุ่นจะแยกออกเป็น รหัสเครื่องภายในและรหัสเครื่องภายนอก (คอยล์เย็น/คอยล์ร้อน) ทั้งสองส่วนจะใช้เลขคนละชุดกันครับ ซึ่งถ้าหากท่านสั่งซื้อแอร์ไม่ว่าจะกับทางสยามเจริญแอร์หรือร้านแอร์ร้านอื่นใดก็ตาม โปรดเพิ่มการใช้เลขรหัสรุ่นในการยืนยัน เพื่อป้องการความผิดพลาดจากการเข้าใจผิดใด ๆ ก็ตาม เช่นจากปกติท่านอาจจะพิมพ์บอกร้านแอร์ว่าต้องการ "แอร์ x-inverter ขนาด 10000 Btu 1 เครื่อง" ท่านอาจเพิ่มเป็น "ต้องการแอร์ x-inverter 42TVAB010-W/38TVAB010 1 เครื่อง" แทนนะครับ

.

ที่เรายกประเด็นข้างต้นมาเนื่องจากว่าในอดีตเคยมีเหตุการณ์ที่แอร์ชื่อรุ่น(ทางการตลาด)เดียวกัน ขนาดเท่ากัน แต่มี รหัสรุ่น ต่างกัน ซึ่งคุณสมบัติบางประการ ในกรณีนี้ก็คือประเภทของน้ำยา ก็ต่างกันไปด้วยครับ การใช้รหัสรุ่นในการคอนเฟิร์มจะดีที่สุดครับ

2. ขนาดบีทียู (BTU)

เปรียบกับรถมันก็เหมือนค่า cc

ขนาดบีทียู เป็นค่าพื้นฐานที่ทุกท่านน่าจะทราบแล้ว หากท่านยังไม่ทราบเราขออนุญาตแนะนำให้ท่านดูบทความ เลือกแอร์ BTU เท่าไรถึงจะดี เตรียมงบเท่าไร เพื่อประกอบการตัดสินใจครับ

.

ข้อสังเกตหนึ่งที่ทางเราอยากแนะนำ จากรูปด้านล่างตรงไฮไลท์เหลืองด้านบนบริเวณรหัสรุ่นนะครับ ถ้าท่านสังเกตแอร์ทุกรุ่นทุกยี่ห้อ จะมี เลขขนาด จำนวน 2 หลัก ที่แตกต่างกันตามขนาดในรหัสรุ่นอยู่ เช่นในกรณีนี้ 42TVAB010-W และพอไปอีกขนาดหนึ่งก็จะเป็น 42TVAB013-W ตัวเลข 10 และ 13 นี้ ร้านแอร์มักจะใช้เป็นตัวอ้างอิงขนาดครับ เช่นถ้าเป็นเลข 13 ก็จะหมายถึงแอร์ขนาดหนึ่งหมื่นสามพันบีทียู ทั้ง ๆ ที่จริง ๆ แล้ว ขนาดแอร์จะไม่ถึง 13000 Btu ก็ตาม

ขนาด BTU ใน แคตตาล็อกแอร์

ถ้าเป็นกรณีแอร์ระบบธรรมดา เราอาจจะเรียกแอร์ประเภทนี้ว่า ไม่เต็ม BTU ก็ได้ครับ ซึ่งถ้าท่านจำเป็นต้องได้ขนาด BTU แอร์ที่เป๊ะ ๆ ตาม spec เราขอแนะนำให้ท่านดูจากตัวเลข BTU ประกอบ ตอนสั่งซื้อแอร์ครับ

.

สำหรับแอร์ระบบ Inverter นั้น จะมีการบอกบีทียู 2 แบบ เช่นตัว 42TVAB010-W มีขนาดทำความเย็นอยู่ที่ 9200 บีทียู แต่ก็มีระยะการทำงานของบีทียู (ไฮไลท์สีเขียว) ต่ำสุดและสูงสุด 3700 - 10900 อยู่ ที่เป็นเช่นนี้เนื่องจากแอร์ระบบ Inverter นั้น จะมีการทำงานแบบ แปรผัน กล่าวคือเมื่อห้องร้อนหรือพึ่งเปิดแอร์ใหม่ ๆ ตัวแอร์จะทำงานที่ 10900 บีทียู และ ตัวแอร์จะทำงานต่ำสุดที่ 3700 บีทียู เมื่อห้องเย็นแล้ว เพื่อประหยัดพลังงานนั้นเองครับ ท่านสามารถดูเพิ่มเติมได้ที่ แอร์ inverter ต่างกับ ระบบธรรมดายังไง

3. ค่า EER/SEER

เน้นประหยัดค่าไฟต้องดู

อีกค่าหนึ่งที่จำเป็นที่ต้องสนใจหากท่านกำลังเปรียบเทียบว่าแอร์ตัวไหนประหยัดไฟมากกว่ากัน ท่านสามารถดูได้จากค่า EER หรือ SEER ครับ ซึ่งค่า EER หรือ SEER ก็คือ ค่าที่ใช้วัดประสิทธิภาพในการใช้พลังงานของแอร์นั่นเอง ยิ่งค่าพวกนี้สูง ยิ่งประหยัดพลังงาน

.

EER (Energy Efficiency Ratio) คือ ค่าที่ใช้วัดประสิทธิภาพในการใช้พลังงานของแอร์
SEER (Seasonal Energy Efficiency Ratio) คือ ค่าที่ใช้วัดประสิทธิภาพในการใช้พลังงานของแอร์ตามฤดูกาล

.

ส่วนมาก แอร์ระบบธรรมดาจะแจ้งเป็นค่า EER และ แอร์ระบบ inverter จะแจ้งเป็นค่า SEER ครับ

ค่า SEER จะนำค่าการเปลี่ยนแปลงของภูมิอากาศตามฤดูกาล มาร่วมพิจารณาด้วย ทำให้มีความใกล้เคียงกับสภาพการใช้พลังงานจริงของแอร์มากขึ้นกว่าการกำหนดแบบ EER

4. ประหยัดไฟเบอร์ 5

ถึงไม่เห็นฉลากประหยัดไฟก็ดูในแค็ตตาล็อกได้นะ

โดยปกติท่านสามารถดูฉลากประหยัดไฟเบอร์ 5 ได้บริเวณหน้ากากของตัวคอยล์เย็น แต่ถ้าหากท่านยังไม่ได้ซื้อแอร์หรือไม่ได้เห็นตัวแอร์จริง ๆ ก่อน ท่านสามารถดูค่าดังกล่าวได้จากแค็ตตาล็อกครับ โดยแอร์ทั่วไปที่ใช้ตามบ้านนั้นควรเริ่มต้นที่เบอร์ 5 เป็นอย่างต่ำ ซึ่งจะมีตั้งแต่ 5*** (เบอร์ 5 สามดาว) 5** (เบอร์ 5 สองดาว) 5* (เบอร์ 5 หนึ่งดาว) 5 (เบอร์ 5 ไม่มีดาว) ยิ่งจำนวนดาวเยอะ ยิ่งประหยัดพลังงานครับ

5. ขนาดของชุดในอาคารและนอกอาคาร

เพราะพื้นที่มันจำกัด ขนาดจึงต้องถูกพิจารณา

หนึ่งในสิ่งที่หลาย ๆ ท่านมักมองข้าม โดยเฉพาะท่านที่ต้องการจะติดตั้งแอร์แล้วหน้างานเป็นคอนโดซึ่งมักจะมีพื้นที่จำกัดครับ การพิจารณาข้อมูลส่วนนี้จะช่วยให้ท่านได้แอร์ที่เหมาะสมกับการใช้งานมากที่สุดครับ หรือง่ายกว่านั้น เพียงแค่ท่านถ่ายรูปหน้างานและส่งให้เราดู (หากมีการบอกระยะด้วยจะดีมากเลยครับ) เราสามารถช่วยท่านวิเคราะห์ได้ กรณีที่ท่านต้องการสอบถามโปรดติดต่อเราครับ

.

ด้านล่างนี้ก็คือคลิป YouTube ที่เกริ่นไว้ด้านบนครับ

เขียนและเรียบเรียงโดย สยามเจริญแอร์

สยามเจริญแอร์ ผู้เชี่ยวชาญด้านแอร์ โดยทีมช่างแอร์ชำนาญงาน เราขายแอร์พร้อมติดตั้งทุกประเภท บริการด้านแอร์ทุกรูปแบบ ล้างแอร์ ซ่อมแอร์ ติดตั้งแอร์ย้ายแอร์ ราคาถูก!

penciluserpushpinmagnifiercross