จะติดตั้งแอร์ทั้งที ก็อยากได้แอร์ที่มีประสิทธิภาพใช่ไหมครับ ติดแล้วต้องเย็นทั่วถึง ประหยัดค่าไฟ และสำคัญที่สุดคือ ขออย่าให้งบบานปลายเลย! การคำนวน BTU ให้พอดีกับขนาดห้องคือคำตอบครับ แต่พอไปเดินดูแอร์แต่ละรุ่นแล้วก็เกิดคำถามเต็มหัวไปหมด BTU คืออะไร ? มันมีกี่ BTU กันแน่ ? แล้วขนาดห้องเท่านี้ BTU เท่าไหร่ดี ? วันนี้ผมจะมาอธิบายวิธีการคำนวน BTU สำหรับการติดตั้งแอร์ฉบับอ่านง่ายให้ทุกท่านเองครับ
BTU ย่อมาจาก British Thermal Unit เป็นชื่อหน่วยวัดค่าพลังงานครับ สรุปง่าย ๆ ว่า BTU คือหน่วยบอกพลังความสามารถของแอร์ในการทำความเย็น เลขต่ำ พลังก็จะน้อยหน่อย เหมาะกับห้องเล็ก เลขสูง พลังเยอะ เหมาะกับห้องใหญ่
ถ้า BTU ต่ำไป แอร์จะทำงานหนัก ทำให้อายุการใช้งานลดลง ถ้า BTU สูงไป แอร์ตัดบ่อย เปลืองพลังงานกินค่าไฟ เลือกให้พอดีจะดีที่สุด ซึ่งการเลือก BTU ต้องคำนวนจากขนาดห้องที่ท่านต้องการติดตั้งแอร์
สำหรับท่านที่มีแอร์ตัวเก่าอยู่ สามารถดูขนาด BTU ได้ที่ฉลากเลยครับ ตรงฉลาดเบอร์ 5 หน้าเครื่อง บางรุ่นจะมีแผ่นสีเงิน ๆ ติดข้างเครื่อง ถ้าหากไม่เจออาจต้องดูที่ตัวคอมเพรสเซอร์นอกบ้าน บางทีสาเหตุที่แอร์เก่าของท่านไม่เย็น อาจเพราะ BTU ไม่เหมาะกับขนาดห้องก็ได้นะครับ
** สำหรับห้องที่เพดานสูงไม่เกิน 2.5 เมตร (สังเกตจากระดับประตูห้องได้ครับ ประตูทั่วไปสูงสองเมตร) **
เลขตัวแปรคือ 750-1,000 โดยจะผันตามปัจจัยอื่น ๆ เช่น หน้าต่างมีแดดเยอะไหม ห้องอยู่สูงใกล้ดาดฟ้าหรือเปล่า หากต้องการแค่คำนวนคร่าว ๆ ให้ใช้ตัวแปร 750 ได้เลยครับ
ตัวอย่าง
ห้องนอนกว้าง 6 เมตร ยาว 4 เมตร = (6x4) x 750 = 18,000 BTU ดังนั้นห้องนี้ควรติดตั้งแอร์ขนาด 18,000 BTU
ขนาด BTUs | ขนาดห้องทั่วไป เช่น ห้องนอน | ขนาดห้องที่ปิดเปิดบ่อย ๆ เช่น ห้องทำงาน |
9000 BTU | 10-14 ตร.ม. | 9-13 ตร.ม. |
12000 BTU | 14-18 ตร.ม. | 12-16 ตร.ม. |
15000 BTU | 18-22 ตร.ม. | 16-19 ตร.ม. |
18000 BTU | 22-26 ตร.ม. | 19-23 ตร.ม. |
20000 BTU | 26-29 ตร.ม. | 23-26 ตร.ม. |
24000 BTU | 29-34 ตร.ม. | 26-30 ตร.ม. |
ในกรณีที่ถ้าเพดานสูงกว่า 2.5 เมตร ใช้แอร์แขวนดีกว่าแอร์ติดผนัง ตัวสูตรคำนวนเองก็จะเปลี่ยนไป โดยคิดเป็นลูกบาศก์เมตรและเอาทั้งหมดมาหารสาม กลายเป็น BTU = [(กว้าง x ยาว x สูง) x ตัวแปร] / 3
ตัวอย่าง
ห้องกว้าง 6 เมตร, ยาว 5 เมตร, สูง 4 เมตร
BTU = [ 6 x 5 x 4 x 750 ] / 3
BTU = 30,000
ดังนั้นห้องนี้ควรติดตั้งแอร์แขวนขนาด 30,000btu
ตำราเขาว่าถ้าแดดส่องถึงให้บวกขนาด BTU ไปอีก 10% แต่จะเพิ่มตัวแปรจาก 750 เป็น 800-1,000 ก็ได้ครับ ยิ่งห้องอยู่ใกล้ดาดฟ้า ยิ่งรับแสงมาก ให้คูณเลขที่สูงไว้
ตัวอย่างจากโจทย์เดิม
ห้องกว้าง 6 เมตร, ยาว 5 เมตร, สูง 4 เมตร มีฝั่งรับแดดจัด
BTU = 30,000 + 10%
BTU = 33,000หรือ
BTU = [ 6 x 5 x 4 x 1,000 ] / 3
BTU = 40,000ดังนั้นห้องนี้ควรติดตั้งแอร์แขวนขนาด 33,000btu ถึง 40,000btu
ห้องนั้นมีคนใช้งานเป็นประจำมากกว่าสองคนหรือเปล่าครับ ? ห้องนั่งเล่นที่ทั้งครอบครัวชอบมานั่งดูทีวีรวมกันบ่อย ๆ หอพักที่มีรูมเมทหลายคน หรือห้องอื่น ๆ ที่มีคนอยู่ทั้งวัน แนะนำให้บวกเพิ่มไปคร่าว ๆ คนละ 600btu เย็นฉ่ำสบายทั่วถึงแน่ ๆ ครับ รับรอง
โฮมออฟฟิศที่มีคนเข้าออกทั้งวัน ให้คำนวนเพิ่มเหมือนกับกรณีมีแดดส่องหรือห้องที่มีคนอยู่เยอะ สำหรับห้องเปิดบ่อย ติดตั้งแอร์ระบบธรรมดา ไม่ต้องเป็น inverter ก็ได้ เพราะอินเวอร์เตอร์เหมาะกับห้องอุณภูมินิ่ง ถ้าห้องอุณภูมิเปลี่ยนไปมา คอมเพรสเซอร์จะทำงานตลอด ไม่ต่างจากระบบธรรมดา กินไฟไม่ต่างกันมากครับ
ส่วนห้องครัวที่คุณแม่บ้านทำอาหารไปก็ร้อนไป อยากติดแอร์เพิ่ม แนะนำให้บวกเพิ่ม 4,000btu กรณีนี้รวมถึงห้องใช้ในบ้านอื่น ๆ ที่แผ่ไอความร้อนนอกเหนือจากของใช้ในครัว เช่น เครื่องอบผ้า เครื่องมือช่าง มอเตอร์ ปั๊ม เป็นต้น
ข้อนี้ต้องกาดอกจันครับ หากท่านคิดจะติดตั้งแอร์ ให้ดูพื้นที่สำหรับอุปกรณ์อื่น ๆ ด้วย ทั้งคอมเพรสเซอร์คอยล์ร้อน ท่อแอร์ สายไฟ ฝาครอบ หลายร้านไม่ได้แถมอุปกรณ์เล็ก ๆ น้อย ๆ ให้ ดังนั้นท่านอาจต้องเตรียมงบเพิ่มเติม ก่อนติดตั้งให้ลองสำรวจดูว่าระเบียงท่านพื้นที่เพียงพอไหม คอมเพรสเซอร์จำเป็นต้องแขวนพนังหรือเปล่า ถ้าวางคอมเพรสเซอร์ที่พื้นได้แต่สถานที่ติดตั้งแอร์ห่างจากบริเวณตั้งคอมเพรสเซอร์นอกบ้านมาก ส่วนใหญ่จะมีค่าเดินสายไฟท่อแอร์ส่วนเกินเพิ่มครับ ลูกค้าบางท่านชอบความเป็นระเบียบก็ใส่ฝาครอบสายไปด้วยเพื่อความสวยงาม
ขอพื้นที่โฆษณาสักนิด สยามเจริญแอร์รับติดตั้งแอร์และย้ายแอร์ หากท่านติดตั้งแอร์กับเรา ค่าบริการเริ่มต้นที่ 2,500 บาท ช่างแอร์เครื่องมือครบ เก็ดกวาดหลังจบงานไม่มีเลอะเทอะ นอกจากนี้เรายังยินดีแถมสายไฟฟรี 10 เมตร ท่อน้ำทิ้ง 5 เมตร และอุปกรณ์อื่น ๆ เช่น ขายาง ถ้าจำเป็นต้องใช้งานเกินของแถม สยามเจริญแอร์จะแจ้งค่าอุปกรณ์ส่วนเกินทั้งหมดตามจริง ไม่มีหมกเม็ดครับ!
คำนวน BTU แล้ว คำถามต่อมาคือ ต้องใช้เงินเท่าไหร่ ? แอร์บ้านที่นิยมติดตั้งจะคือ 9,000-25,000btu ราคาแอร์จะอยู่ที่ราว ๆ 10,000 - 35,000 บาท ราคาแล้วแต่รุ่น ยี่ห้อ และฟังก์ชันที่ต่างกันไป
ส่วนการติดตั้ง จะขึ้นอยู่กับการตกลงกับทางร้านค้าว่าราคาแอร์รวมค่าติดตั้งหรือไม่ รวมถึงค่าอุปกรณ์เสริมต่าง ๆ ในกรณีที่ทางร้านไม่ได้แถม ก็จะขึ้นอยู่กับการประเมินหน้างานครับ
ค่าบริการของสยามเจริญแอร์ สำหรับการติดตั้งแอร์ผนังจะเริ่มที่ 2,500 บาท แอร์แขวนเริ่ม 3,500 บาท ลูกค้าบางท่านอาจคิดว่า แค่ค่าตัวแอร์ก็สูงแล้ว จะประหยัดด้วยการติดตั้งแอร์เองได้ไหม คำตอบคือ ไม่แนะนำครับ หากติดตั้งไม่ได้มาตรฐานตั้งแต่แรก อาจทำให้ลดอายุการใช้งานแอร์ เกิดการกระแทกทำให้เกิดจุดรั่วซึม และปัญหาอื่น ๆ อีกมากที่ทำให้การประหยัดเล็กน้อยไปสู่ค่าใช้จ่ายซ่อมแซมในอนาคต สู้ติดตั้งกับมืออาชีพ ตัดปัญหาจุกจิกให้เหลือแค่ค่าล้างแอร์ปีละ 2 ครั้ง ได้ใช้งานเต็มประสิทธิภาพ เย็นสบายตลอดอายุการใช้งาน แบบนี้คุ้มกว่ากันเยอะครับ นอกจากนี้เรายังมีประกันหลังติดตั้งสูงสุด 90 วันด้วย 🙂
1. BTU มีสูตรคำนวน 2 สูตรตามความสูงของเพดาน คือ สูตรเพดานปกติ (กว้าง x ยาว ) x ตัวแปร และ สูตรเพดานสูงเกิน 2.5 เมตร [(กว้าง x ยาว x สูง) x ตัวแปร] / 3
2. ตัวแปรทั่วไปคือ 750 สามารถเพิ่มเลขตามปัจจัยห้องนั้น ๆ เช่น แสงแดด สูงสุดที่ 1000
3. ปัจจัยอื่น ๆ ที่ต้องคำนึง เช่น พื้นที่วางคอมเพรสเซอร์ จำนวนคนในห้อง เครื่องใช้ที่แผ่ไอความร้อน ลักษณะการใช้งาน เป็นต้น
4. ค่าใช้จ่าย = ราคาแอร์ (10,000-35,000 บาท) + ค่าบริการติดตั้ง (เริ่มที่ 2,500 บาท) + ค่าอุปกรณ์ส่วนเกิน ตามที่ตกลงกับทางร้าน
ปัจจุบัน แอร์ติดผนัง BTU ต่ำที่สุดจะอยู่ที่ 9,000btu ครับ ผมแนะนำให้ท่านติดตั้งแอร์ขนาดนี้ไปเลยจะดีที่สุด ถ้าเลขต่ำกว่านี้ส่วนใหญ่จะเป็นแอร์หน้าต่าง ( Window Air Conditioner) ซึ่งไม่ค่อยนิยมใช้ในเมืองไทยครับ เนื่องจากเสียงค่อนข้างดัง ตัวเครื่องหนักเพราะรวมคอยล์ร้อนคอยล์เย็นในตัวเดียว ซ่อมบำรุงรักษายากอีกต่างหาก
"ไหน ๆ ก็ติดแอร์แล้ว ติดเผื่อสูง ๆ เลยดีกว่า เหลือดีกว่าขาดนะ" ใช่ครับ ถ้าแอร์ใหญ่อยู่ในห้องเล็ก ยังไงก็เย็นเร็วแน่ ๆ ครับ แต่ว่าผมไม่แนะนำสักเท่าไหร่ แอร์ในปัจจุบันจะมีระบบเซ็นเซอร์วัดอุณหภูมิ ถ้าห้องเย็นถึงอุณหภูมิที่ต้องการแล้ว แอร์จะตัดครับ ดังนั้นหากติด BTU สูงเกินขนาดห้อง แอร์จะตัดบ่อย (เสียงจะค่อนข้างน่ารำคาญเลย) พอแอร์ตัดบ่อย ๆ เข้า แอร์ก็จะดูดความชื้นในห้องไม่ทัน นำไปสู่อาการคัดจมูก ไม่สบายตัว ไม่ดีกับท่านที่เป็นภูมิแพ้แน่ ๆ แถมการสตาร์ทแอร์ใหม่บ่อย ๆ เปลืองพลังงานมากกว่า กินค่าไฟเพิ่มอีก ไม่แนะนำครับ
ถ้ารู้ขนาด BTU แล้ว ให้เลือกตามสเปกและงบประมาณครับ แอร์แต่ละยี่ห้อมีหลากหลายรุ่นมาก เช่น เป็นระบบ Inverter หรือเปล่า มีฉลากเบอร์ห้าไหม ติดดาวไม่ติดดาว ฟิลเตอร์กรอง PM2.5 ได้หรือเปล่า รายละเอียดเหล่านี้มีให้พิจารณาเยอะเลย ลองอ่าน สิ่งที่ควรรู้ก่อนซื้อแอร์ เพื่อประกอบการตัดสินใจนะครับ
คำตอบคือ ขึ้นอยู่กับรูปทรงห้องและแผนการกั้นห้องในอนาคตครับ ลูกค้าหลายท่านเลือกติดตั้งแอร์สองตัวเพราะราคาแอร์ตัวเล็กรวมกันถูกกว่าตัวใหญ่ตัวเดียว หรือเผื่อไว้ว่าถ้าแอร์ตัวหนึ่งพังจะได้มีอีกตัวสำรองไว้ ทั้งนี้ผมอยากให้คำนวนเรื่องพื้นที่การติดตั้งด้วย แอร์ 2 ตัวใช้คอมเพรสเซอร์ 2 ตัวครับ และค่าใช้จ่ายในอนาคต เช่น การล้างแอร์ ค่าซ่อมบำรุงก็สองเท่า หากห้องเป็นทรงยาว มีสิ่งขีดขวางทางลมเยอะ หรือท่านมีแพลนกั้นห้องในอนาคต การติดตั้งตัวเล็กสองตัวอาจจะดีกว่า หากเป็นห้องโล่ง ติดตัวใหญ่ประหยัดในระยะยาวมากกว่าครับ
อ่านจบแล้วยังงง ๆ อยู่ ยังตัดสินใจไม่ได้ ปรึกษาพวกเราได้นะ 🙂 จะแอดไลน์ @scair (มีตัว @) โทรหา 081-917-7884 หรือ ดูช่องทางติดต่ออื่น ๆ ยินดีให้บริการครับ
สยามเจริญแอร์ ผู้เชี่ยวชาญด้านแอร์ โดยทีมช่างแอร์ชำนาญงาน เราขายแอร์พร้อมติดตั้งทุกประเภท บริการด้านแอร์ทุกรูปแบบ ล้างแอร์ ซ่อมแอร์ ติดตั้งแอร์ย้ายแอร์ ราคาถูก!