บริการเขตกรุงเทพและปริมณฑล 
ติดต่อสอบถาม 0819177884 หรือไลน์ @scair 

คำนวณค่าไฟแอร์

หมวดหมู่ : 
คำนวณค่าไฟแอร์

คำถามยอดฮิตอันดับสองรองจากแอร์ยี่ห้อไหนดีของลูกค้าสยามเจริญแอร์เราคือ “แอร์ตัวนี้...กินไฟไหม” คำตอบของเราจะอ้างอิงค่าไฟรายปีจากฉลากประหยัดไฟเบอร์ 5 ที่ออกโดยกระทรวงพลังงาน เพราะฉนั้นหากท่านมีแอร์อยู่แล้ว แนะนำให้ดูค่าไฟจากฉลากประหยัดไฟบริเวณหน้ากากแอร์ของท่านได้เลยครับ ทั้งนี้ค่าไฟที่แสดงดังกล่าวมักจะอ้างอิงจากการใช้งานปกติโดยเฉลี่ยอยู่ที่ 8 ชั่วโมง/วันครับ หรือท่านสามารถกรอกค่าต่าง ๆ ผ่านเครื่องคำนวณด้านล่างเพื่อดูค่าไฟได้ทันที

แบบฟอร์มคำนวณค่าไฟแอร์

หากท่านต้องการคำนวณค่าไฟโดยคร่าวเองท่านสามารถลองเติมตัวเลขเข้าแบบฟอร์มคำนวณด้านล่างนี้ได้เลยครับ

Electric-bill-calculator
BTU
หาดูได้จากแคตตาล็อกหรือหน้าสินค้าของเราครับ
โดยเฉลี่ยจะเป็น 8 ชั่วโมงต่อวัน ท่านสามารถเลือกเปลี่ยนได้ตามการใช้งาน
หน่วยละ
ระบุค่าไฟต่อหน่วยตามอัตราก้าวหน้า 3.96 เป็นแค่ค่าเฉลี่ยเท่านั้น
ค่าไฟฟ้าประมาณ

หรือถ้าท่านอยากทราบที่มาว่าค่าไฟที่ระบบคำนวณนั้นมาอย่างไร ลองอ่านในหัวข้อถัดไปได้เลยครับ


สูตรการคำนวณค่าไฟฟ้าแอร์

สำหรับที่มาของสูตร

ค่าที่ท่านต้องหามาเข้าสูตรมี 5 ค่าครับ

  1. BTU
  2. ค่า SEER
  3. จำนวนชั่วโมงที่ใช้ต่อวัน
  4. จำนวนวันที่ใช้งาน
  5. ค่าไฟต่อหน่วยตามการไฟฟ้านครหลวง หรือการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค

แล้วนำไปเข้าสูตรด้านล่างนี้ครับ

BTU / ค่า SEER / 1000 x จำนวนชั่วโมงที่ใช้ต่อวัน x จำนวนวันที่ใช้งาน x ค่าไฟฟ้าต่อหน่วย

เช่นค่าไฟแอร์ยี่ห้อแคเรียร์ รุ่น X-Inverter Plus รหัสรุ่น 42TVAB018/38TVAB018

  1. ขนาด 18,000 BTU  
  2. ค่า SEER 22.5 (หาดูได้จากแคตตาล็อกหรือหน้าสินค้าของเราครับ)
  3. ใช้วันละ 8 ชั่วโมง
  4. คำนวณต่อเดือนตีไป 30 วัน
  5. ค่าไฟฟ้าสมมุติหน่วยละ 3.2484 บาท (ใช้น้อยกว่า 150 หน่วยต่อเดือน)

ก็จะได้เป็น

18000 / 22.5 / 1000 x 8 x 30 x 3.2484 = 624 บาท

ค่าไฟแคเรียร์ รุ่น X-Inverter Plus ขนาด 18000 BTU ก็จะประมาณ 624 บาท/เดือนครับ ถ้าอยากทราบรายปีก็เอาไปคูณ 12 ก็จะได้เป็น 7,488 บาท/ปี

อย่างไรก็ตามหากท่านดูจากฉลากประหยัดไฟ ค่าไฟฟ้าต่อหน่วยจะเป็นค่าเฉลี่ยคือ 3.96 ครับ เนื่องจากค่าไฟฟ้ามีการแปรผันตามอัตราก้าวหน้า ถ้าเราลองมาคำนวณตามค่าเฉลี่ย 3.96 ก็จะได้ดังนี้ครับ

18000 BTU / ค่า SEER 22.5 / ค่าคงที่ 1000 x 8 ชั่วโมงที่ใช้ต่อวัน x 365 วัน x ค่าไฟฟ้าต่อหน่วย 3.96 = 9250.56 หรือปัดเศษ 9,251 บาท/ปี ตามฉลากเป๊ะๆเลยครับ

ค่าไฟแอร์ยี่ห้อแคเรียร์ รุ่น X-Inverter Plus รหัสรุ่น 42TVAB018/38TVAB018

อัตราการคิดค่าไฟฟ้า

จากการไฟฟ้านครหลวง

หากท่านกำลังสงสัยว่าแล้วตัว "ค่าไฟฟ้าต่อหน่วย" ของบ้านท่านมันหน่วยละกี่บาทกันแน่ ท่านสามารถดูตารางด้านล่างนี้ได้เลยครับ

1.1 อัตราปกติปริมาณการใช้พลังงานไฟฟ้าไม่เกิน 150 หน่วยต่อเดือน

จำนวนหน่วย (กิโลวัตต์ชั่วโมง)หน่วยละ (บาท)
15 หน่วยแรก (หน่วยที่ 1 – 15)2.3488
10 หน่วยต่อไป (หน่วยที่ 16 – 25)2.9882
10 หน่วยต่อไป (หน่วยที่ 26 – 35)3.2405
65 หน่วยต่อไป (หน่วยที่ 36 – 100)3.6237
50 หน่วยต่อไป (หน่วยที่ 101 – 150)3.7171
250 หน่วยต่อไป (หน่วยที่ 151 – 400)4.2218
เกินกว่า 400 หน่วย (หน่วยที่ 401 เป็นต้นไป)4.4217

1.2 อัตราปกติปริมาณการใช้พลังงานไฟฟ้าเกินกว่า 150 หน่วยต่อเดือน

จำนวนหน่วย (กิโลวัตต์ชั่วโมง)หน่วยละ (บาท)
150 หน่วยแรก (หน่วยที่ 1 – 150)3.2484
250 หน่วยต่อไป (หน่วยที่ 151 – 400)4.2218
เกินกว่า 400 หน่วย (หน่วยที่ 401 เป็นต้นไป)4.4217

1.3 อัตราตามช่วงเวลาของการใช้ (Time of Use Tariff : TOU Tariff )

On PeakOff Peak
แรงดัน 12 – 24 กิโลโวลต์5.11352.6037
แรงดันต่ำกว่า 12 กิโลโวลต์5.79822.6369

อ้างอิงตารางค่าไฟต่อหน่วยจาก การไฟฟ้านครหลวง

หากท่านมีคำถามใด ๆ เพิ่มเติม ที่สยามเจริญแอร์พอจะช่วยท่านได้ โปรดอย่าลังเลที่จะติดต่อเราครับ

ขอบคุณครับ

มองหาแอร์ใหม่พร้อมติดตั้งราคาไม่แพง?

เราจำหน่ายแอร์พร้อมติดตั้งทุกยี่ห้อ ใหม่แกะกล่อง มีใบรับประกันจากผู้ผลิต รับประกันราคาคุ้มค่า สำหรับข้อมูลเพิ่มเติม โปรดเยี่ยมชมหน้าสินค้าของเรา
เขียนและเรียบเรียงโดย สยามเจริญแอร์

สยามเจริญแอร์ ผู้เชี่ยวชาญด้านแอร์ โดยทีมช่างแอร์ชำนาญงาน เราขายแอร์พร้อมติดตั้งทุกประเภท บริการด้านแอร์ทุกรูปแบบ ล้างแอร์ ซ่อมแอร์ ติดตั้งแอร์ย้ายแอร์ ราคาถูก!

pencilusercartpushpinbullhornmagnifiercross